สรรพากร ทำการประกาศถึงการขยายระยะเวลาในการหัก ภาษีรายจ่าย สำหรับ ชุดตรวจ ATK เป็นจำนวน 1.5 เท่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ไปจนถึง 31 ธ.ค. 65 สรรพากร, ภาษีรายจ่าย, ชุดตรวจ ATK – (26 เม.ย. 2565) ครม.อนุมัติหลักการขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง มาหักเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนร้อยละ 50 (หักได้ 1.5 เท่า) ของรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เปิดเผยว่า “คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID – 19 Antigen test self-test kits) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้าง มาหักเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนร้อยละ 50 (หักได้ 1.5 เท่า) ของรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการสำหรับใช้ตรวจพนักงานหรือลูกจ้างเป็นประจำ”
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมกับมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID – 19) และเพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้ขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเองออกไปอีก จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยคาดว่าจะช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการ ทั้งยังช่วยป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป”
ทั้งนี้ สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร.1161
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า “สำหรับผู้ที่มีความประสงค์สมัครงานสามารถตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น และยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ฝ่ายจัดส่งไปทำงานไต้หวันและประเทศอื่นๆ ชั้น 12 อาคารสำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม – 9 กันยายน 2565 ในวันและเวลาราชการ
คนละครึ่งเฟส 4 สวัสดิการแห่งรัฐ หมดเขต 30 เม.ย. นี้ สรุปยอดรวมตัวเลข แตะ 7 หมื่นล้านบาท
โฆษกรัฐบาลเผย คนละครึ่งเฟส 4 สวัสดิการแห่งรัฐ สรุปยอดรวมตัวเลข เข้าสู่ 7 หมื่นล้านบาท ชวนใช้สิทธิอีก 5 วันสุดท้ายถึงเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565 ขณะที่มีกระแสการต่อเฟส 5 หรือไม่นั้น กระทรวงการคลัง ต้องพิจารณาความจำเป็น ควบคู่การประเมินเศรษฐกิจ “นายกฯ” ย้ำการสร้างงานสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้สำคัญที่สุด
อัปเดตล่าสุด วันนี้ 26 เมษายน 2565 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เปิดเผยความคืบหน้ายอดตัวเลขค่าใช้จ่ายมาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ของรัฐ ในรอบปีใหม่นี้ 2565 ล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เม.ย. 65) ผู้ใช้สิทธิ สะสม รวม 40.94 ล้านคน ยอดใช้จ่าย สะสม รวม 69,694.35 ล้านบาท แบ่งเป็น 1)โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 26.27 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 61,142.01 ล้านบาท แบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 31,133.45 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 30,008.57 ล้านบาท 2)
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตร สวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.37 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 7,858.57 ล้านบาท 3) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 1.30 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 693.77 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการ คนละครึ่งเฟส 4 (ระยะที่ 4) มีจำนวนผู้ใช้สิทธิครบ 1,200 บาท ประมาณ 12.93 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 49 ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมด
ในขณะที่จำนวนผู้ใช้สิทธิใกล้ครบจำนวน 1,200 บาท ประมาณ 10.73 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 41 ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมดและยังมีจำนวนผู้ได้รับสิทธิที่ยังไม่ได้เริ่มใช้สิทธิประมาณ 1.2 แสนราย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความยินดีที่โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากประชาชน เพราะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้จริง เกิดผลดีต่อการหมุนเวียนของเงินหลายเท่าตัวแต่ก็เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก
ส่วนโครงการ คนละครึ่งเฟส 5 จะมีหรือไม่นั้น กระทรวงการคลัง ยังต้องพิจารณาก่อน และไม่ได้พูดถึง คนละเสี้ยว ตามที่มีกระแสข่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ จากผลกระทบปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังต้องพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ เพราะเป็นมาตรการที่ใช้งบประมาณสูง
“นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำให้ความสำคัญกับการสร้างงานสร้างอาชีพ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้ออกมาตรการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องรายได้ แต่ขณะนี้จากการประเมินสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ประชาชนปรับตัวในการออกมาใช้ชีวิต เศรษฐกิจกำลังขยับเข้าสู่ภาวะปกติ รายรับเริ่มกลับมา
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป